อยากเริ่มต้น Agile แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง? มาลองอ่านบทความนี้ได้เลย
แอดสรุปเนื้อหาบางส่วนจากคอร์ส Agile Essentials สอนโดยพี่ต้า Skooldio (ex-Data Scientist Facebook) Google Developers Experts ด้าน Machine Learning
ปัจจุบันพี่ต้าเป็น MD Skooldio และควบตำแหน่งอาจารย์สอนวิชา data หลายวิชา ถ้าใครคิดว่าแอดเรียนเยอะแล้ว พี่ต้าเรียนเยอะกว่ามาก พี่เค้านอนตอนไหน 555+
คอร์สนี้เหมาะกับคนเพิ่งเริ่มศึกษาเรื่อง Agile พี่ต้าสอนให้ครบตั้งแต่ Agile Manifesto ไปจนถึงสอง Frameworks สำคัญคือ Scrum และ Kanban มีแตะ Lean เบาๆ
Table of Contents (คลิกอ่านหัวข้อที่ต้องการ)
Getting Started

เนื้อหาคอร์ส Agile Essentials แบ่งออกเป็น 5 modules ใช้เวลาเรียนทั้งหมด 2.5-3 ชั่วโมง
- Introduction (53 นาที)
- Agile Project Management (32 นาที)
- Agile Teams (28 นาที)
- Getting Started with Agile (29 นาที)
- Beyond MVPs and Agile Teams (17 นาที)
พี่ต้าเปิดตัวคอร์สด้วยตัวอย่างสมัยพี่เค้าทำงานที่ Facebook HQ และเล่าเรื่องการขยายทีม dev ของ Facebook Live จาก 12 คน เป็น 100 คนภายในหนึ่งสัปดาห์ เพราะทุกคนเชื่อว่านี้คือ product ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับ users บน platform ได้ดีมากๆ
📑 ความเร็วในการปรับตัว ส่งมอบสินค้าหรือบริการใหม่ๆให้กับลูกค้าได้สม่ำเสมอคือหัวใจขององค์กรแบบ Agile => responding to change quickly ลูกค้าแฮปปี้ ก็มีเงินมาจ้างเราต่อ ผ่าม! (เอาเรื่องจริงมาล้อเล้นอีกแล้ว 555+)
The Beginning
Agile ไม่ได้แปลว่า “เร็วอย่างเดียว” ยั๊งงงงง 555+ แต่ความเร็วเป็นหนึ่งในผลลัพธ์จากการที่ทีมของเราทำงานแบบ Agile ความเสี่ยงอันดับต้นๆขององค์กรยุคนี้คือการปรับตัวช้าเกินไป
ปรับตัวช้า (หรือไม่ยอมปรับตัว) ก็ไปไม่รอดหรือเสียความสามารถทางการแข่งขันไปเลย ตัวอย่างแบรนด์ที่ NOT Agile ในเวลานั้น
- Blackberry
- Nokia
- Yahoo (Search Engine)
- Toys R Us
เป้าหมายสูงสุดของ agile คือการสร้าง products/ services ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีที่สุด (deliver values) เพิ่มโอกาสสำเร็จ ลดโอกาสล้มเหลว โดย agile มีจุดเริ่มต้นมาจากงาน software development
Speed and uncertainty are the new normal. Often, the greater risk for a growing business is to move too slowly.
Reid Hoffman, Co-Founder of LinkedIn
ในปี 2001 กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์ 17 คน นำโดย Ken Beck, Martin Fowler, Jeff Sutherland, Jim Highsmith, Robert C. Martin ได้บัญญัติ Agile Manifesto ขึ้นมาทั้งหมด 4 ข้อ (และ Agile Values อีก 12 ข้อ)
- Individuals and interactions over process and tools
- Working software over comprehensive documentation
- Customer collaboration over contract negotiation
- Responding to change over following a plan
ใน Manifesto => agile ให้ความสำคัญเรื่องทางด้านซ้ายมากกว่าด้านขวา (ไม่ได้แปลว่าด้านขวาไม่สำคัญ) เรื่องคนและการทำงานเป็นทีม การสร้าง products ที่ใช้งานได้จริง การทำงานร่วมกันกับลูกค้า และการปรับตัวตามความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์

📑 Agile เป็นเรื่องของ mindset จริงๆเราสามารถนำ agile มาประยุกต์ใช้ได้กับหลายๆงานเลย ไม่ใช่เฉพาะเรื่อง software เท่านั้น (แต่ถ้าเป็นพี่รูฟ ODDS ก็จะบอกว่า ทุกบริษัทในปัจจุบันคือ software companies หมดแล้ว แปลว่ายังไงก็หนีไม่พ้น Agile)
MVP
MVP ย่อมาจาก Minimum Viable Product หรือสินค้าและบริการที่เรียบง่ายที่สุด + ใช้งานได้จริงที่เราสามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้ (the smallest things we can deliver)
ตัวอย่างของ MVP ที่เราเจอบ่อยๆในหนังสือ agile คือการสร้าง skateboard แทนการสร้างล้อเปล่าๆใน iteration ที่หนึ่ง
Scenario – ความต้องการของ users คือการเดินทางได้เร็วขึ้น (travel faster)

ถ้าเราสร้างและส่งมอบ skateboard ให้กับ users เค้าจะได้รับ Value ตั้งแต่ iteration แรกเลย ดีกว่าการได้ล้อเปล่าเฉยๆ ถึงแม้ว่าปลายทาง final product จะเป็นรถยนต์เหมือนกัน
ในทุกๆ iterations ของ product development เราพาลูกค้าเข้าใกล้สิ่งที่เค้าต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ i.e. continuous improvement
📑 MVP = Functional + Reliable + Usable + Emotional Design มีครบทุกอย่างได้ยิ่งดี ในการส่งมอบงานให้ลูกค้า
Scrum
Scrum คือ agile framework ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ มีที่มาจากกีฬารักบี้ฟุตบอล ทุกคนมาช่วยกันรุมสกรัมงานหรือโปรเจ็ค โดย Scrum จะกำหนดตำแหน่งของผู้เล่นในทีมไว้ชัดเจน แบ่งเป็น 3 ตำแหน่งคือ
- Product owner – Build the right thing
- Scrum master – Build it fast
- Development team – Build the thing right
Scrum ประกอบด้วย 3 artifacts (สิ่งที่ใช้ในการทำงาน) คือ product backlog, sprint backlog, increment และ 5 ceremonies (กิจกรรมที่ทีมทำร่วมกัน) คือ sprint planning, sprint, daily standup, sprint review และการทำ retrospective
📑 Ideal Scrum Team จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก งานวิจัยบอกว่าประมาณ 7 คนกำลังดี (+/-2) ยิ่งมีคนเยอะ การสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจตรงกันจะเริ่มยากขึ้น Jeff Bezos เคยพูดว่า ถ้าทีมของเรามีขนาดใหญ่กว่าพิซซ่าสองถาด แปลว่าขนาดทีมเริ่มไม่ optimal แล้ว
Kanban
อีก framework ที่เรานิยมใน agile projects คือ Kanban
Kanban แบ่งงานที่เราต้องทำเป็น 3 ช่องคือ To do, Doing, Done หรือจะมีช่องมากกว่านี้ก็ได้ขึ้นอยู่กับทีมของเรา โดยเป้าหมายของทีมคือการย้าย backlogs ไปอยู่ช่อง Done ให้มากที่สุด ส่งมอบ value ให้ลูกค้าได้มากที่สุดภายในเวลาที่กำหนด

Kanban ให้ความสำคัญกับเรื่อง transparency ทีมจะเข้าใจและเห็นถึงสถานะงานทั้งหมดของโปรเจ็ค ใน Kanban จะไม่มีคอนเซ็ปต์เรื่อง roles เหมือนกับ Scrum
จุดเด่นของ Kanban
- Visualize workflow
- Limit work in progress
Work in Progress (WIP) คือจำนวนงานที่แต่ละ sprint เรารับมาทำ ทีมจะโฟกัสที่การส่งงานไปช่อง Done ให้ได้มากที่สุด (ย้าย Doing >> Done) ก่อนจะรับงานใหม่ๆเข้ามา
ตัวอย่างเช่น การกำหนดจำนวนการ์ดในช่อง Doing max = 5 เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ เราสามารถใช้เครื่องมือเหล่านี้ร่วมกันได้ => Scrum + Kanban + XP (Extreme Programming) สมัยแอดไปทำงานที่ ODDS พี่รูฟ พี่เต๋าจัดให้แบบเต็มๆ เรียกว่าเป็น hybrid agile สนุกมาก 555+ (แต่ตอนขึ้น production ลุ้นมากเช่นกัน)
Final Thoughts
Change is the only constant.
Heraclitus, a Greek philosophy
แอดคิดว่าคอร์สนี้ OK เลยสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ถ้าเคยอ่านหนังสือพวก Agile/ Scrum มาบ้างแล้ว อาจจะข้ามคอร์สนี้ไปก่อน (อันนี้แบบ beginner level จริงๆ) แหะๆ
- Agile คือการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า ส่งบ่อยๆ ส่งถี่ๆ เก็บ feedbacks ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ i.e. deliver works in small, but consumable, increments
- Scrum มีการแบ่ง Roles ชัดเจน PO, Scrum Master, Development Team
- Kanban ใช้ visualize workflow + limit work in progress (WIP)
- การสร้าง Squad ใช้ Jira หรือมี Kanban board ติดอยู่ที่ออฟฟิศ ไม่ได้แปลว่าองค์กรเราเป็น Agile
- Agile เริ่มต้นมาจากงานสาย software แต่สามารถประยุกต์ใช้ได้ทุกธุรกิจ
มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ The Epic Guide to Agile ของ Dave Torado (2019) รีวิวโหดมาก 83% ⭐⭐⭐⭐⭐ แอดซื้อมาอ่าน (แต่ยังไม่จบ) เปิดโลก Agile เลย 555+
ถ้าใครเรียนจบคอร์สนี้ก็จะได้ใบ certificate สวยๆ ใส่ใน resume ใช้สมัครงานได้การันตีด้วยชื่อ Skooldio และพี่ต้า ตัวจริงเรื่อง data/ agile development

ปิดท้ายด้วย quote ของโรงเรียน Skooldio [Studio ของคนอยากอัปสกิล] แต่ถ้าใครอยากอัปสกิล Data Science สนุกๆอย่าลืมแวะมาเรียนบน DataRockie นะครับ 😝
One thought on “รีวิวคอร์ส Skooldio – Agile Essentials”