สมัยก่อนที่โลกเราจะมี ChatGPT หรือ Bard AI ไว้ใช้งาน การทำโปรแกรม sentiment analysis ต้องใช้พลังเยอะมากในการเขียน code และ test โมเดลของเรา
สมัยก่อนคือเมื่อปีที่แล้วนี่เอง AI พัฒนาแบบก้าวกระโดดเลยในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา

วันนี้เราแทบไม่ต้องเขียนโค้ดเลย แค่เขียน prompt เป็นภาษาอังกฤษสั่งงาน Bard AI ก็ได้โปรแกรมทำ sentiment ที่ใช้งานได้จริง รองรับทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย
ง่ายจนงง ตกงานแล้วแอด 🤣 555+
บทความนี้แอดจะมาสอนเขียน prompt เพื่อทำ sentiment analysis ง่ายๆด้วย Google Bard AI หรือถ้าใครใช้ ChatGPT ก็ทำตามได้เหมือนกันนะครับ
Table of Contents
Sentiment Analysis คืออะไร
Sentiment analysis คือการวิเคราะห์ข้อความ piece of text เพื่อหา insights บางอย่าง เช่น ความคิดเห็นต่อเรื่องนั้นๆว่าเป็นเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลาง
- Positive – “I love this smartphone”
- Negative – “The camera is so bad“
- Neutral – “I saw the new advertising this morning”
รวมถึงการสกัดข้อมูลหรือ extract entity ที่เราต้องการออกมาจาก text นั้นด้วย เช่น ชื่อแบรนด์สินค้าที่ลูกค้าพูดถึง หัวข้อที่เค้าสนใจ
ตัวอย่าง sentiment ของตลาด smartphone เช่น
I love Samsung Galaxy Z Flip5. The new form factor is very innovative. It also has great camera features. Overall, I'm satisfied with the purchase.
สรุปสั้นๆ sentiment analysis คือการใช้ machine learning เข้าไปวิเคราะห์รีวิวนี้ และบอกให้ได้ว่าเป็นรีวิวเชิงบวก (satisfied) ของโทรศัพท์แบรนด์ Samsung โดยลูกค้าพูดถึงเรื่องดีไซน์ (form factor) และกล้อง (camera) เป็นหลัก
Use case ที่สำคัญที่สุดของการทำ sentiment คือการวิเคราะห์ข้อมูล online reviews บน e-commerce platforms เช่น shopee, lazada, eBay และ amazon

งานที่เคยต้องใช้มนุษย์ทำเยอะๆเมื่อไม่กี่ปีก่อน วันนี้สามารถใช้ AI ช่วยทุ่นแรงไปได้เยอะเลย Large Language Models (LLM) ไม่ได้ทำได้แค่ sentiment analysis แต่มันเริ่มจะเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์ขึ้นเรื่อยๆ

ทำความรู้จัก Google Bard AI
Google เปิดตัว Bard AI ในเดือน ก.พ. 2023 เพื่อออกมาแข่งกับ ChatGPT โดย Bard คือ LLM ที่มีความสามารถในการเข้าใจภาษามนุษย์ “natural language”
รูปแบบการใช้งานหลักๆของ Bard AI
- ใช้สรุปผลข้อมูลต่างๆ ได้ทั้งบทความและวีดีโอ
- ใช้หา ideas ใหม่ๆ หรือทำ research สำหรับโปรเจ็คของเรา
- แปลภาษาได้มากกว่า 40 ภาษา ไทย อังกฤษ เกาหลี ญี่ปุ่นได้หมด
- แนะนำวิธีการทำงานต่างๆ สอนเราเขียนโค้ดก็ได้
- เขียน description ให้กับรูปภาพ หรืออธิบายกราฟก็ทำได้แล้วกับเวอร์ชันล่าสุด
📝 อ่านบทความแนะนำวิธีการใช้งาน Google Bard AI
ตอนนี้ Bard ยังอยู่ในช่วงทดลองใช้งาน (experimental phase) เดือน พ.ค. 2023 เพิ่งมีอัพเดทให้รองรับภาษาไทยได้แล้ว เริ่มต้นใช้งานฟรีที่ https://bard.google.com/
ขั้นตอนการทำ Sentiment Analysis
มาเริ่มเขียน prompt ง่ายๆสำหรับทำ sentiment analysis ใน Bard ด้วยกัน ถ้าใครยังไม่เคยเขียน prompt มาก่อน ลองอ่านบทความเก่าของแอดได้นะครับ
แอดลองเขียนรีวิวภาษาไทยขึ้นมา 4 ข้อความ
Hi Bard, I have a sentiment analysis task for you. Please perform the following actions in order.
1. Translate these Thai online reviews into English language.
["กล้องโคตรกาก ถ่ายไม่ชัดเลย", "ฉันรัก Samsung", "iphone ใช้ดีมาก อยากซื้ออีก", "เพิ่งซื้อ iphone14 รุ่นใหม่มาวันก่อน ใช้แล้วยังเฉยๆมาก"]
2. Perform sentiment analysis on translated texts. There are three sentiment options: ["negative", "neutral", "positive"]
3. Extract brand names of mobile phone from translated texts. If none is found, return "none".
4. Return sentiment results in JSON format. JSON has the following keys: ["text", "sentiment", "confidence", "brand"]
โครงสร้างภาษาไทยมีความซับซ้อนสูง ขั้นตอนแรกแอดเลยสั่งให้ Bard แปลรีวิวเป็นภาษาอังกฤษก่อน เวลาทำ sentiment analysis จะได้มีความแม่นยำสูงขึ้น (อันนี้เดานะ 555+)

The camera is really bad, it doesn't take clear pictures. I love Samsung. iPhone is really good, I want to buy another one. I just bought the new iPhone14 the other day, and I'm still not very impressed.
ขั้นตอนที่ 2-3 Bard สร้างตารางสรุปผล sentiment ครบตามที่เราขอเลย
- ความรู้สึก (sentiment: negative, neutral, positive)
- ความเชื่อมั่น (confidence)
- แบรนด์ (Samsung, Apple, None)

ค่าความเชื่อมั่นหรือ confidence score บอกความมั่นใจของ Bard ในการทำ sentiment ข้อความนั้นๆ สังเกตว่าข้อความสุดท้ายถูกจัดอยู่ในกลุ่ม neutral มีค่า confidence ที่ 50%
ขั้นตอนสุดท้าย Bard ส่ง response กลับมาเป็น JSON เพื่อให้ developer นำไปใช้งานต่อได้ง่ายขึ้น มี 4 keys คือ text, sentiment, confidence และ brand
{
"text": "The camera is really bad, it doesn't take clear pictures.",
"sentiment": "Negative",
"confidence": 90,
"brand": "None"
}
{
"text": "I love Samsung.",
"sentiment": "Positive",
"confidence": 100,
"brand": "Samsung"
}
{
"text": "iPhone is really good, I want to buy another one.",
"sentiment": "Positive",
"confidence": 100,
"brand": "Apple"
}
{
"text": "I just bought the new iPhone14 the other day, and I'm still not very impressed.",
"sentiment": "Neutral",
"confidence": 50,
"brand": "Apple"
}
Sentiment with Thai Language
มาลองทำ sentiment กับรีวิวภาษาไทยกันบ้าง คราวนี้เราจะไม่แปลเป็นภาษาอังกฤษก่อน ลองดูว่า Bard จะทำได้มั้ย 555+ เขียน prompt ง่ายๆตามนี้
Classify sentiment (neutral, positive, negative) for this Thai online review.
"ซัมซุง galaxy z flip5 สวยมาก หน้าจอแข็งแรง ถ่ายรูปแสงน้อยได้ดี"
Your response should follow this JSON structure:
{
"text": "Thai online review",
"sentiment": "neutral"
}
ซัมซุง galaxy z flip5 สวยมาก หน้าจอแข็งแรง ถ่ายรูปแสงน้อยได้ดี
ผลลัพธ์ที่ Bard ส่งกลับมา ทำได้โอเคเลย ถือว่าสอบผ่าน 🫡
แน่นอน นี่คือการวิเคราะห์ความรู้สึกสำหรับบทวิจารณ์ออนไลน์ภาษาไทย:
{
"text": "ซัมซุง galaxy z flip5 สวยมาก หน้าจอแข็งแรง ถ่ายรูปแสงน้อยได้ดี",
"sentiment": "positive"
}
บทวิจารณ์นี้แสดงความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ผู้ใช้กล่าวว่าผลิตภัณฑ์สวย หน้าจอแข็งแรง และถ่ายรูปแสงน้อยได้ดี
ตอนนี้ PaLM API (Bard) เปิดให้ลงทะเบียนความสนใจใน waitlist แล้ว ถ้าเปิดให้ใช้งานจริงเมื่อไหร่ developers สามารถเรียก API ทำ sentiment app ได้ง่ายๆเลย
ส่วนตัวแอดคิดว่าความท้าทายในยุคต่อไปของการทำ sentiment ไม่ใช่การเขียน app แต่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีคุณภาพเพื่อส่งต่อให้กับโมเดลของเรา
ใครมีข้อมูลที่คุณภาพดีกว่า ก็จะสามารถพัฒนา AI model ที่เก่งขึ้นเรื่อยๆได้ ถ้าได้ทั้ง quality และ quantity ด้วยก็ take over ตลาดได้แน่นอนเหมือนที่ OpenAI ทำอยู่ตอนนี้
ส่วนแอดเชียร์ Bard นะ UI ใช้ง่ายกว่าเยอะเลย ทีม underdog 🤣 555+

สรุปการทำ sentiment analysis ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ถ้าเรารู้จักใช้ AI ฝึกการตั้งคำถาม และเขียน basic prompts ได้ ความรู้นี้มีประโยชน์มากในสาย marketing/ business ไว้ใช้หา insights ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบอะไรแบรนด์เราได้สบายๆ
English is the new programming language ภาษาอังกฤษสำคัญที่สุดเลย เขียน prompt ภาษาอังกฤษง่ายกว่าไทยเยอะ มาเรียนด้วยกันนะครับทุกคน ✌️

สมัครเรียนฟรี คอร์สออนไลน์ Prompt Design with Google Bard AI สอนโดยแอดทอยเอง ตอนนี้มีเพื่อนๆสมัครมามากกว่า 1,700 คน แล้ว สุดยอด!
อยากเรียนเรื่องอะไรอีก comment บอกแอดได้ในโพสต์นี้เลยนะครับ ❤️
Leave a Reply