ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์อธิบายความล้มเหลวของตลาดได้อย่างไร?
บทความนี้แอดจะอธิบายปัญหา Asymmetric Information หนึ่งในสาเหตุของการเกิด Market Failure อ้างอิงจากเปเปอร์ต้นฉบับของ George Akerlof (1978) เป็นหนึ่งในงานวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงถึงมากที่สุดตลอดกาล (อ้างอิงสถิติจาก Google Scholar 33629 ครั้ง) และช่วยให้ Akerlof ได้รับรางวัล Nobel Prize ร่วมกับ Michael Spence และ Joseph Stiglitz ในปี 2001 เกี่ยวกับเรื่อง Information Economics

Asymmetric Information คือสถานการณ์ที่ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า (บริการ หรือ transaction) มีข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ฝ่ายที่มีข้อมูลน้อยกว่าเสียเปรียบในการตกลงทำธุรกรรม ซึ่งแบ่งออกเป็นสามปัญหาย่อยๆ ดังนี้
- Adverse Selection
- Moral Hazard
- Monopolies of Knowledge (เหมือนรัฐบาลที่เข้าควบคุมสื่อในประเทศ รู้สึกคุ้นๆ 55+)
บทความนี้จะโฟกัสที่ปัญหา Adverse Selection โดยใช้ตัวอย่างคลาสสิค “ตลาดรถยนต์มือสอง” (The Market for Lemons, 1978) ของ Akerlof แต่ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาหลัก แอดจะอธิบายสมมติฐานที่สำคัญที่สุดของเศรษฐศาสตร์ให้ทุกคนเข้าใจก่อน
Economic Assumption
ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า “มนุษย์ทุกคนตัดสินใจเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเอง” (self-interest, maximize profit or expected utility)
ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตและขายสินค้าต้องการกำไรสูงสุด (profit maximization) ในด้านผู้ซื้อสินค้าและบริการก็ต้องการความพอใจสูงสุด (utility maximization) จุดดุลยภาพในตลาด (market equilibrium) คือจุดที่ผู้ขายได้กำไรสูงสุดและผู้ซื้อก็ได้ความพอใจสูงสุดเช่นกัน ถ้าใครเคยเรียนวิชา Mi1 equilibrium คือจุดที่ S = D
สมมติฐานนี้ไม่ได้อธิบายเฉพาะการซื้อขายสินค้าเท่านั้น แต่สามารถใช้อธิบายการกระทำ (actions) ทั้งหมดที่มนุษย์คนนึงตัดสินใจทำได้เลย ถึงแม้ว่าการกระทำหรือพฤติกรรมบางอย่างอาจจะดูไม่ rational ก็ตาม
Note – สำหรับคนทั่วไป ให้มอง utility เป็นเหมือนความพอใจที่เราได้รับจากการบริโภคสินค้า (หรือการกระทำของเราก็ได้) หัวข้อถัดไปแอดจะ discuss สิ่งที่ Akerlof เสนอในปี 1978 อย่างละเอียด
The Market for Lemons

Akerlof ใช้ตัวอย่างการซื้อขายรถยนต์เพื่ออธิบายความล้มเหลวของตลาดจากการที่ผู้ซื้อรถยนต์ (buyers) มีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าน้อยกว่าผู้ขาย (sellers) โดย Akerlof แบ่งรถยนต์ออกเป็นสี่กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- รถยนต์ใหม่ คุณภาพดี (New car – Good)
- รถยนต์ใหม่ คุณภาพแย่ (New car – Bad)
- รถยนต์มือสอง คุณภาพดี (Used car – Good)
- รถยนต์มือสอง คุณภาพแย่ (Used car – Bad)
โดยรถยนต์คุณภาพแย่ที่ประเทศอเมริกาจะใช้ศัพท์ slang ว่า “Lemons” ส่วนรถยนต์คุณภาพดีเรียกว่า “Peaches” (มะนาว vs. พีช) Akerlof มีสมมติฐานว่าผู้ซื้อไม่มีทางรู้เลยว่ารถยนต์ที่ตัวเองซื้อไปเป็นมะนาวหรือว่าพีชจนกว่าจะได้ใช้งานด้วยตัวเองซักระยะหนึ่ง และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหา Asymmetric Information
แต่สิ่งที่ผู้ซื้อรู้คือความน่าจะเป็นว่าสินค้าที่ซื้อไปเป็น good car เท่าไหร่ ในเปเปอร์ของ Akerlof ใช้ตัวย่อ “q” เป็น subjective experience หรือ prior probability ที่ผู้ซื้อประเมินขึ้นมาจากข้อมูลทั้งหมดที่มี
- q = ความน่าจะเป็นที่สินค้าเป็น good car
- (1 – q) = ความน่าจะเป็นที่สินค้าเป็น lemon
Note – ความน่าจะเป็น q สามารถเปลี่ยนได้ (i.e. ถูกอัพเดท) หลังจากผู้ซื้อใช้งานรถยนต์ซักระยะหนึ่ง กลายเป็น q’ อ่านว่า “คิว-แดท” หรือ posterior probability ตามนิยามของ Bayesian theory
สมมติฐานที่สองของ Akerlof คือคุณภาพรถยนต์มือสองเป็นฟังก์ชันของราคาหรือเขียนเป็นสมการ u = f(p) โดยที่ u คือ average quality และ p คือราคา และความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้งสองตัวเป็นเชิงบวกหรือ positive correlation เหมือนที่ Akerlof เขียนในเปเปอร์ “As the price falls, normally the quality will also fall.”
Akerlof เชื่อว่าสินค้าที่มีคุณภาพต้องราคาสูง และสินค้าที่ด้อยคุณภาพต้องราคาต่ำ ในสถานการณ์ที่ผู้ซื้อมีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าน้อยกว่าผู้ขาย ผู้ซื้อส่วนใหญ่ใช้ “ราคา” เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกถึงคุณภาพของสินค้า
ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจซื้อหุ้นที่เราไม่รู้จักมาก่อน แต่เห็นราคาสูงและมีคนซื้อขายเยอะ นักลงทุนมือใหม่อาจจะใช้ราคาหุ้นเป็น signal ที่บอกถึงคุณภาพ ราคาขึ้นสูง = น่าเล่น ราคาตกต่ำ = รีบขาย หลายคนกลายเป็นเม่าเข้าซื้อแล้วก็ติดดอยไปตามๆกัน 555+ (เพราะการลงทุนในหุ้นก็เข้าข่าย Asymmetric Information)
Akerlof ปิดท้ายว่า ณ จุดดุลยภาพของตลาด supply ต้องเท่ากับ demand หรือเขียนเป็นสมการ S(p) = D(p, u(p)) โดยความต้องการซื้อจะขึ้นอยู่กับสองปัจจัยคือราคา p และคุณภาพรถยนต์มือสองเฉลี่ยในตลาด u(p)
The Problem

ถ้าวันนี้เราต้องซื้อรถยนต์มือสอง แต่เราไม่มีทางบอกได้เลยว่ารถคันนั้นเป็นมะนาวหรือพีช (รู้แค่ความน่าจะเป็นของ good car “q”) เราควรทำอย่างไรดีในสถานการณ์นี้?
อย่างที่แอดอธิบายไปในหัวข้อก่อนหน้า ถ้าผู้ซื้อไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเลย ผู้ซื้อส่วนใหญ่จะใช้ราคาเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ และตามสมมติฐานของ Akerlof สินค้าคุณภาพดีควรจะมีราคาสูง (price signals quality)
Asymmetric Information เปิดช่องให้ผู้ขายที่มีรถยนต์มือสองคุณภาพแย่หรือ lemons ขายสินค้าในราคาสูงเทียบเท่ากับรถยนต์มือสองคุณภาพดี โดย Akerlof มีสมมติฐานว่าผู้ซื้อไม่มีทางบอกความแตกต่างระหว่างสินค้าคุณภาพดีและแย่ได้เลย “it is impossible to tell the difference between a good car and a bad car.”
ผู้ซื้อรถยนต์มือสองกำลังเจอปัญหา quality uncertainty (ตามชื่อเปเปอร์ของ Akerlof) เมื่อลูกค้าไม่มั่นใจในคุณภาพสินค้า ความต้องการจ่ายก็จะลดต่ำลง จนถึงระดับที่ผู้ขายรถยนต์มือสองคุณภาพดีไม่สามารถทำกำไรจากการขายได้และตัดสินใจออกจากตลาด สอดคล้องกับ Economic Assumption ที่เราอธิบายในตอนแรก
มนุษย์ทุกคนล้วนตัดสินใจและมีพฤติกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ถ้าอยู่ในตลาดแต่ขายของไม่ได้กำไรตามที่หวังไว้หรือขาดทุนจากการทำธุรกรรม ผู้ขายรถยนต์มือสองคุณภาพดีก็จะตัดสินใจออกจากตลาดไป
เมื่อเจ้าของสินค้าคุณภาพดี (ที่ราคาสูง) ตัดสินใจออกจากตลาด ในตลาดจะเหลือแต่ lemons ยิ่งทำให้ราคาเฉลี่ยของตลาดรถยนต์มือสองลดต่ำลงไปอีก ราคาที่ต่ำลง signal เรื่องคุณภาพของรถยนต์มือสองทั้งหมดในตลาด จนถึงจุดที่ไม่ว่าราคาจะอยู่ที่ระดับใดก็จะไม่เกิดการซื้อขายสินค้าเลยเพราะผู้บริโภคไม่มั่นใจในคุณภาพ และนี่คือจุดที่ตลาดล้มเหลวอย่างสมบูรณ์ Market Collapse ตามที่ Akerlof อธิบายในเปเปอร์ปี 1978
Market Failure

ความล้มเหลวของตลาดในทางเศรษฐศาสตร์คือการที่ทรัพยากรถูกจัดสรรอย่างไม่มีประสิทธิภาพ
ราคาไม่ได้แสดงถึงคุณภาพที่แท้จริง ผู้ขายที่เป็นเจ้าของรถยนต์มือสองคุณภาพดีไม่สามารถขายสินค้าได้ ลูกค้าที่ต้องการรถยนต์มือสองไว้ใช้งานจริงๆไม่สามารถหาซื้อสินค้าได้เพราะไม่มั่นใจในคุณภาพในตลาดที่มีแต่ lemons ปัญหานี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “Adverse Selection” (แปลไทยตรงๆว่า การเลือกที่ก่อให้เกิดผลเสีย) หนึ่งในสามปัญหาที่เกิดจาก Asymmetric Information
แต่ทฤษฎีของ Akerlof ที่เสนอในปี 1978 มีสมมติฐานที่สั่นคลอน และไม่เป็นจริงในทุกสถานการณ์
Shaking Assumptions
สมมติฐานสองข้อของ Akerlof ที่บอกว่าผู้ซื้อไม่มีทางแยกออกเลยระหว่าง lemons vs. peaches และราคาเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ ยิ่งสูงคุณภาพต้องยิ่งดี อาจไม่เป็นความจริงในทุกตลาด
- ทุกวันนี้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้นเพราะอินเตอร์เน็ต สามารถหาข้อมูลสินค้า อ่านรีวิว หรือถามคนรู้จักที่เคยใช้แบรนด์เหล่านั้นก็ได้ ช่วยเพิ่มโอกาสในการแยกมะนาวและลูกพีชออกจากกัน
- ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่บ่งชี้คุณภาพสินค้า ราคาสินค้าที่ถูกลงไม่ได้แปลว่าคุณภาพต้องแย่ตาม ไม่งั้นบริษัทจีนหลายๆบริษัทคงไม่สามารถส่งออกสินค้าไปตีตลาดโลกได้ (และ Trump คงไม่ต้องออกนโยบายกีดกันการค้าจากประเทศจีน)
Akerlof เสนอว่าคุณภาพเป็นฟังก์ชันของราคาเพียงแค่ตัวแปรเดียวหรือ u = f(p) ที่ อธิบายเฉพาะความสัมพันธ์แบบ positive correlation เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นจริงในทุกตลาด ในสถานการณ์จริงยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อ perceived quality หรือเขียนเป็นฟังก์ชัน u = f(p, x1, x2, x3, …)
Akerlof ไม่ได้อธิบายเรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ขาย lemons ถ้าหากเค้ายังขาย lemons ในตลาดไปเรื่อยๆ และมีจำนวนผู้เสียหายเยอะๆ อาจจะถูกฟ้องกลับและเสียชื่อเสียงในระยะยาวเลยก็เป็นได้
Example of Insurance
Asymmetric Information ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะกับฝั่งผู้ซื้อเท่านั้น แต่ผู้ขายสินค้าก็สามารถเป็นฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ได้เช่นกัน ตัวอย่างที่เราเห็นบ่อยๆคือการซื้อประกันสุขภาพ
เวลากรอกแบบฟอร์มซื้อประกัน ใครที่มีข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพของเรามากกว่ากัน – ตัวเราที่เป็นผู้ซื้อ หรือว่าบริษัทประกันที่เป็นผู้ขาย? แล้วถ้าผู้ซื้อประกันตั้งใจปกปิดข้อมูลสุขภาพของตัวเอง บริษัทประกันก็อาจต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลมากกว่าที่ประเมินไว้ในระยะยาว
ผลกระทบคือบริษัทประกันขึ้นค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ราคาที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ลูกค้าที่อยากจะซื้อประกันจริงๆและไม่ได้มีปัญหาสุขภาพอะไรมาก ไม่สามารถซื้อประกันได้ (cannot afford) เกิดเป็นปัญหา Adverse Selection บริษัทประกันจะได้แต่ลูกค้าที่มีปัญหาสุขภาพหนักๆและพร้อมจ่ายเบี้ยเท่านั้น (ปัญหาเดียวกับตลาดรถยนต์มือสองที่มีแต่มะนาว แต่ผู้เสียผลประโยชน์ในกรณีนี้คือบริษัทผู้ขายประกัน)
What You Learn
- Asymmetric Information เป็นหนึ่งในสาเหตุของการเกิดความล้มเหลวของตลาด ปัญหาที่เราอธิบายในบทความนี้มีชื่อเฉพาะว่า Adverse Selection
- ในกรณีตลาดรถยนต์มือสอง ผู้ขายรถยนต์มือสองคุณภาพดีตัดสินใจออกจากตลาดเพราะว่าไม่ได้กำไรหรือขายแบบขาดทุน ลูกค้าที่ต้องการซื้อรถยนต์มือสองจริงๆไม่สามารถหาสินค้าคุณภาพดีได้ในตลาด
- ปัญหา Asymmetric Information เกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย ในกรณีตลาดประกันสุขภาพ บริษัทประกันหรือผู้ขายเป็นฝ่ายเสียผลประโยชน์ถ้ามีใบสมัครแบบ lemons เข้ามาเยอะๆ
- ความล้มเหลวของตลาด = การจัดสรรทรัพยากรไม่มีประสิทธิภาพ
- สมมติฐานของ Akerlof อาจไม่เป็นจริงในบางสถานการณ์ เพราะเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป และสมการ utility (หรือ perceived quality) ที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านราคาอย่างเดียว
Fighting Lemons

Akerlof ได้เสนอแนวทางในการจัดการกับปัญหา Asymmetric Information เพื่อลดความเสี่ยงด้านคุณภาพ (quality uncertainty) และให้ข้อมูลกับผู้ซื้อผู้ขายสินค้ามากขึ้น ในหัวข้อที่ IV ของเปเปอร์ปี 1978 ดังนี้
- การการันตีคุณภาพสินค้า เช่น ไม่พอใจยินดีคืนเงิน
- การสร้างแบรนด์ (brand name goods)
- การสร้าง chains เช่น McDonalds, KFC หรือโรงแรมในเครือต่างๆ (คล้ายกับการสร้างแบรนด์)
- การออก license หรือใบ certificate รับรองคุณภาพ
Michael Spence และ Joseph Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์อีกสองท่านที่ได้รางวัล Nobel Prize ร่วมกับ Akerlof ในปี 2001 ได้เสนอแนวทางที่ช่วยให้ economic agents ตัดสินใจได้ดีขึ้นเวลาที่เจอกับ Asymmetric Information คือการทำ signaling และ screening ตามลำดับ แต่บทความวันนี้ยาวแล้ว ไว้แอดมาอธิบายต่อครั้งหน้า 555+ แอดขอทิ้งท้ายดัวยปัญหานี้ ฝากไว้ให้คิดเล่นๆ
ในตลาดแรงงาน ระหว่างผู้สมัครงานกับบริษัทผู้จ้างงาน ใครที่มีแรงจูงใจในการปกปิดข้อมูล และใครที่จะได้ประโยชน์จากปัญหา Asymmetric Information ครั้งนี้? 😜
Leave a Reply