learning markdown obsidian

เข้าใจ Markdown พื้นฐานภายใน 5 นาที [Obsidian]

วันก่อนแอดนั่งดูวีดีโอของ channel Linking Your Thinking ของ Nick Milo สอนใช้งาน Obsidian แอปจดโน้ตขั้นเทพที่กำลังเป็นที่นิยมในต่างประเทศ มีฟีเจอร์ graph view ที่ใช้แสดงผลเรื่องต่างๆที่เราเขียน connected thinking ตามหลักการทำงานของสมอง

ไปอ่านรีวิวมาหลายๆที่ Obsidian คือสุดยอด note-taking app ของปีนี้เลย 555+ คราวนี้ตัว Obsidian ใช้ภาษา markdown ในการจดโน้ตต่างๆ บทความนี้แอดเลยจะมาสอนเขียน markdown หรือ .md file แบบสั้น กระชับ เข้าใจได้ภายใน 10 นาที (ง่ายจนงง) 😝

Note – เราสามารถเขียน markdown กับ text editor ทั่วไปได้เลย เช่น sublime, vscode หรือแม้แต่ Windows notepad แล้ว save file นามสกุล .md

Table of Contents

What is Markdown?

Markdown คือภาษาสำหรับใส่ format ให้ text ทั่วไป เช่น ตัวหนา ตัวเอียง เขียนเป็น lists ใส่ลิ้ง รูปภาพ เป็นต้น พัฒนาโดย John Gruber และ Aaron Swartz ในปี 2004 (Wiki – Markdown)

จุดเด่นของ Markdown Language

  • Lightweight เบา ไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเติม
  • Syntax เรียบง่าย
  • Free เขียนด้วย text-editor อะไรก็ได้ ในตัวอย่างวันนี้แอดเขียนบน Obsidian

Note – เพื่อนๆสามารถดาวน์โหลด Obsidian ได้ที่ลิ้งนี้ หรือใครจะใช้ text editor ตัวอื่นก็ได้ เดี๋ยวบทความต่อไปแอดมาอธิบายว่า Obsidian คืออะไรอีกทีนะครับ 😬

ตัวอย่าง markdown syntax ใน Obsidian

แล้ว Data Analyst อย่างพวกเราต้องรู้ภาษา Markdown มั้ย?

ควรเป็นอย่างยิ่ง 555+ markdown คือภาษาพื้นฐานในการทำ report ต่างๆเลย ตัวอย่างเช่นบน Jupyter [Python/ R] Notebook ก็ใช้ markdown เขียนอธิบายโค้ดต่างๆของเราได้

Basic Markdown

เปิดโปรแกรม Obsidian ขึ้นมา เลือก Create new vault

Vault คือ folder ที่เราใช้ในการเก็บ note ที่เราเขียนทั้งหมดใน local computer

สร้าง vault ใหม่ใน Obsidian เพื่อเก็บ note ของเรา

กดปุ่ม CTRL+N เพื่อสร้างไฟล์ใหม่ ตอนนี้ทุกคนพร้อมเขียน markdown กันแล้วครับ

Heading

เราสามารถใส่ heading ให้กับ document ของเราได้ โดยการใช้ # หรือ pound sign โดยทั่วไปจะกำหนดได้ 6 ระดับ โดย # คือ heading level 1 ที่สำคัญที่สุดใน document ส่วนใหญ่จะเป็นชื่อ title (เช่น ชื่อ website/ doc ของเรา)

## heading level 2, ### heading level 3 ตามลำดับ ปกติแอดจะใช้ # เขียนชื่อ title และ ## เป็น sub-topics ภายใน document นั้นๆ

# Heading 1
## Heading 2
### Heading 3
#### Heading 4
##### Heading 5
###### Heading 6

Paragraph

สำหรับ text block ทั่วไปหรือ paragraph ก็ขึ้นบรรทัดใหม่แล้วเขียนได้เลย

# Obsidian Note-Taking App
Obsidian is a very good note-taking app. It's free and powerful. It has graph view feature which is mind-blowing.

Emphasis

ถ้าต้องการเน้น หรือไฮไลท์ text เป็นตัวหนา ตัวเอียง และ code in line ให้ใช้ * หรือ ` wrap ข้อความส่วนนั้นๆ

  • Bold
  • Italic
  • code in line
**Obsidian** is a very good *note-taking* app. It's free and powerful. It has `graph view` feature which is **mind-blowing**.
ตัวอย่างการใช้ emphasis ใน markdown
Rendered document

Lists

เราสามารถเขียน list of items ได้สองแบบ

  • Unordered จะเป็น bullet point ทั่วไป
  • Ordered เช่น 1, 2, 3
- coursera
- edx
- udacity
- codecademy
- datacamp

1. coursera
2. edx
3. udacity
4. codecademy
5. datacamp

ถ้าต้องการเขียน nested lists ให้ขึ้นบรรทัดใหม่และย่อหน้าหรือกด spacebar 2 ทีตามตัวอย่างนี้

- Programming Languages
  - Python
  - R
  - JavaScript
  - Java

Comment

ใช้สัญลักษณ์ %% เพื่อ wrap ข้อความ comment ของเราใน markdown file [Obsidian] ภาษา markdown อื่นๆ เช่น HTML, XML จะมีการ comment ต่างกันเล็กน้อย

%% this is your comment %%

การสร้าง links ใน Obsidian จะมีสองแบบคือ

  • Internal links
  • External links

สำหรับการสร้าง internal links ให้ใช้สัญลักษณ์ [[link name]] อันนี้จะเป็นลิ้งที่เชื่อมต่อโน้ตที่เราเขียนใน Obsidian ทั้งหมด

We can add a new [[new link]] here.

ส่วน external links คือการลิ้งออกไปที่ documents ข้างนอก เช่น internet, www. ในตัวอย่างด้านล่าง [Google] คือ anchor เวลาเรากดที่คำนี้ Obsidian จะเปิด url ในวงเล็บ

https://www.google.com
[Google](https://www.google.com)

Images

การใส่รูปจะคล้ายกับการใส่ external link เลย แค่เพิ่ม ! ไปข้างหน้า [alt text]

![Obsidian](https://obsidian.md/images/banner.png)

Table

เราใช้ | กับ --- ในการ format ตารางใน document ด้านล่างแอดมีกด tab/ space เพื่อปรับ format ให้อ่านง่ายๆด้วย อันนี้แล้วแต่ความชอบและสไตล์ของแต่ละคนเลย 😋

Languages | Popularity
--------- | ----------
Python    | High
R         | High
SQL       | High
Java      | Good

Blockquote

แล้วตัวอย่างสุดท้ายคือการเขียน blockquote หรือ quotation ที่เราดึงมาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ จะเป็นคำพูดเด็ดๆของ historic figure ก็ได้ ตัวอย่างเช่นของ Gandhi

> Live as if you were to die tomorrow. Learn as if you were to live forever.
\- Mahatma Gandhi

ทำไมมันง่ายอย่างนี้! Markdown เป็นภาษาที่เขียนง่ายมาก ใช้เวลาแป๊ปเดียวก็น่าจะเขียนได้แล้วครับ ถ้าจำ syntax ไม่ได้ก็ google เอาเร็วๆ 555+ เขียนเสร็จก็ export เป็น .PDF ได้เลย

markdown pdf file
Rendered Markdown – PDF

เดี๋ยวบทความต่อไป มาเรียนการสร้าง Second Brain ด้วย Obsidian ติดตามกันได้เลยครับทุกคน (ตอนนี้แอดใช้ Obsidian คู่กับ Notion เลย ดีกันคนละแบบ สุดยอดแอปทั้งคู่)

⭐ ถ้าชอบบทความนี้ อย่าลืมกด like กด share ให้เพื่อนได้อ่านกันด้วยนะครับ ปิดท้ายบทความวันนี้ด้วยผลงาน Obsidian Knowledge Graph ของ Nick Milo สุดยอด! ภาพนี้คือเขียนมาจาก markdown ที่เราสอนวันนี้เลย 555+

knowledge graph Obsidian by Nick Milo
ตัวอย่าง Obsidian knowledge graph ของ Nick Milo

2 responses to “เข้าใจ Markdown พื้นฐานภายใน 5 นาที [Obsidian]”

  1. อ่านง่ายมากๆครับ ขอบคุณครับ

  2. […] ข้อมูลเบื้องต้น – ใช้ได้ทั้งกับ mac และ window – สามารถ Download และติดตั้งจาก https://obsidian.md/ – ใช้ภาษา markdown ในการโน๊ต บางคนอาจยังไม่คุ้นเคยแต่ไม่ต้องกังวล เพราะทำความเข้าใจวิธีการใส่ heading การทำ links นิดหน่อยก็ใช้งานพื้นฐานได้ครอบคลุมทั้งหมดแล้ว – สำหรับการสอนใช้ Markdown แบบเริ่มต้นที่ครอบคลุมและเข้าใจมากๆ ขอแนะนำ บทความของคุณทอยจากเพจ Datarockie เลยค่ะ ใช้เวลาไม่นาน เข้าใจง่าย ใช้งานได้จริงตามลิ้งค์นี้ไปเล้ย https://datarockie.com/blog/markdown-language-obsidian/ […]

Leave a Reply