วันก่อนแอดนั่งเรียนคอร์ส Productive Note Taking สอนโดยพี่อิง ดาริน สุทธพงษ์ Co-Founder/ CEO Hato Hub บน Cariber เป็นคอร์สสั้นๆ 8 วีดีโอจบภายในหนึ่งชั่วโมง สนุกมาก ได้ข้อคิดดีๆจากพี่อิงเยอะเลย
แอดเขียนสรุปมาให้อ่านกัน อ่านจบเหมือนเรียนเอง 555+
Table of Contents
Meet P’Eng
พี่อิงเรียนจบปริญญาตรี design & media arts จาก UCLA จบโทด้าน digital communication จาก University of Washington เพราะตอนเด็กๆอยากเป็น animator
เรียนจบได้งานตามที่พี่อิงฝันไว้เลย แต่ไม่สนุกอย่างที่คิด 555+
พี่อิงเลยย้ายจากสาย motion design/ entertainment มาเป็น user experience ที่ Amazon
และก็ทำงานด้าน UX มาเรื่อยๆ จนเมื่อปี 2015 กลับมาทำ startup ที่ประเทศไทย
Skill การจดโน้ตของพี่อิงได้มาจากตอนทำงานที่ Amazon เพราะที่นั้นคือใช้การเขียนเป็นหลักเพื่อสื่อสารกันในองค์กร ทำ document เพื่อแชร์โปรเจ็คใหม่ หรือแชร์ note ให้เพื่อนๆอ่านก่อนเข้าประชุม
Clear writing = Clear thinking
Eng Darin
What is Note-Taking
ถ้าเราเขียนโน้ต เหมือนเราย้ายไอเดียที่อยู่ในหัวเราออกมาอยู่ในกระดาษ
เราสามารถ connect เชื่อมโยงไอเดียต่างๆได้ง่ายขึ้น ไอเดียต่อไอเดีย สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ง่ายขึ้น เหมือนที่ Tiago Forte เขียนไว้ในหนังสือ Building A Second Brain
การจดโน้ตเป็นอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ไม่น่าเบื่อด้วย
พี่อิงแชร์ว่าการจดโน้ตแบ่งได้เป็นสองแบบคือ
- จดให้คนอื่น
- จดให้ตัวเอง (write to remember)
ในคอร์สนี้พี่อิงเน้นการจดให้ตัวเองเป็นหลัก การเขียนของพี่อิงนอกจาก write to remember พี่อิงยังเขียนเพื่อให้สมองได้คิดด้วย write to think สร้างผลงานทางความคิดของตัวเอง
ในแต่ละวันสมองมีไอเดียใหม่ๆวิ่งเข้ามามากกว่า 30,000 ไอเดียต่อวัน ถ้าไม่จด ยังไงก็ลืม 555+ จดเถอะ เย้ 🤣
สำหรับ Knowledge Workers การจดโน้ตเป็นการเก็บวัตถุดิบให้เราทำงานได้ดีขึ้น
Eng Darin
คนดังๆระดับโลกที่จดโน้ตจนประสบความสำเร็จ เช่น Taylor Swift, Tim Ferris, Richard Feynman และ Jeff Bezos เจ้านายเก่าพี่อิงที่ Amazon เป็นต้น
Personal Knowledge Management

PKM คือศาสตร์การนำความรู้ของเราไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด note-taking => productivity
เนื้อหาของ PKM จะกว้างมาก พี่อิงแบ่งเรื่องนี้ออกเป็น 4 หัวข้อหลักๆตามหลักการ Zettelkasten ที่คิดค้นโดย Niklas Luhmann หนึ่งในคนที่ productive ที่สุดในโลก
- Capture
- Connect
- Crystallize
- Create
Zettelkasten is a personal tool for thinking and writing that creates an interconnected web of thought
Niklas Luhmann
ตอนเรียนมาถึงตรงนี้ แอดนึกถึงหนังสือ BASB ของ Tiago Forte อีกแล้ว framework ของ Tiago ชื่อ CODE
method – Capture, Organize, Distill, Express สามารถ map ไอเดียตรงๆกับของ Zettelkasten ได้เลย
Zettelkasten 4C
ทุกอย่างที่เราเรียน เราจะเริ่มลืมภายใน 48 ชั่วโมงในสมองเราไม่ได้ประมวลผลสิ่งๆนั้น
การจดโน้ตคือการให้สมองได้ Capture
ไอเดียหรือความรู้นั้นๆ เพื่อให้เรานำความรู้นั้นมาใช้ได้ในอนาคต
Zettelkasten จะแบ่งการจดโน้ตเป็นสองแบบคือ
- Literature Note การเก็บข้อมูลจากคนอื่น เช่น หนังสือที่เราอ่าน คอร์สที่เราเรียน
- Fleeting Note กระดาษทดของชีวิต คล้ายๆเป็นการจด journal สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเรา เป็นประสบการณ์ life experience ที่เราเจอในแต่ละวัน
อย่างบทความที่แอดเขียนสรุปอยู่นี้เรียกว่าเป็น Literature Note ก็ได้ 555+
ตอนท้ายของคอร์ส พี่อิงสอนเรื่อง Permanent Note เพิ่มมาอีกอันนึง แอดว่าอันนี้ดีจัด
🤔 แล้วเราจะเลือก capture ข้อมูลอะไรดี?
พี่อิงแนะนำว่าเลือกจากความรู้สึกได้เลย บางเรื่องที่เราเจอมาถ้ามันทำให้เรา wow/ surprise/ inspire ก็เก็บมาเลย + เก็บข้อมูลที่มีประโยชน์ useful + ไอเดียที่มันตรงกับชีวิตของเรา personal
พี่อิงบอกว่า “ถ้า capture คือการซื้อของเข้าบ้าน ขั้นตอนถัดไปคือการ Connect
เพื่อจัดระเบียบของที่เราซื้อมา”
และสองขั้นตอนสุดท้ายคือ Crystallize
เขียนสรุปความรู้และ Create
เพื่อสร้างคุณค่าจากความรู้
Digital vs. Analog Notes
แล้วเราจะจดโน้ตแบบ digital หรือแบบ analog ดี?
คำถามนี้จริงๆแอดก็ยังหาคำตอบอยู่เลย 555+ ทั้งสองแบบมีข้อดีแตกต่างกัน
Digital อยู่กับเราทุกที่ note-taking apps อย่าง Notion, Evernote, Obsidian เข้าผ่านโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวโน้ตเราหายไปไหน (นอกจาก server ล่ม หรือ database พัง เย้ย 555+) และข้อดีที่สุดของ digital คือการมี seach feature ให้เราค้นหาโน้ตของเราได้ง่ายๆ
Analog ช่วยให้เราไม่ต้องอยู่หน้าจอตลอด ได้ลงมือเขียนจริงๆบนกระดาษ feeling ก็จะอีกแบบไสตล์ Bullet Journal (BUJO) แต่ถ้าสมุดโน้ตหาย หรือเปียกฝน โดนน้ำ ก็เศร้าเลย แง 555+ และการค้นหาโน้ต อาจจะไม่สะดวกเท่า digital
แอดเลยขอสรุปง่ายๆว่า จะจดแบบไหนก็ได้ แค่เริ่มจดวันนี้ 😊 แล้วค่อยๆปรับตามสไตล์ที่เราชอบ จะใช้สองแบบคู่กันเลยก็ได้ จดใน analog แล้วค่อยย้ายเข้า digital spaces เพื่อให้ไอเดียนั้นอยู่กับเราไปนานๆ
งั้นเรามาพักคั่นโฆษณาสักครู่ 555+
อันนี้ไม่รู้ใครเป็นเหมือนแอดมั้ย เวลาจดแบบ Analog ตอนไปเลือกซื้อสมุดกับปากกาคือสนุกมาก เดินเลือกได้ทั้งวัน ถ้าใครกำลังมองหาปากกาไว้จดโน้ตคูลๆ แอดขอแนะนำ Lamy x Carnival Safari All Black สีดำสุดเท่ มาพร้อมสายห้อยคอด้วย เท่เหลือเชื่อ!
คือแอดไปกด like รูปปากกานี้บน Facebook Page ของ Lamy แล้วพี่แอดมินเค้าเลยส่งปากกามาให้แอดลองใช้งาน
แล้วนี่คือ FC Lamy เลย แอดใช้ตัว rollerball pen มาครบปี คือพกติดตัวตลอด เขียนลื่นมาก 555+
สำหรับรุ่น Carnival Safari All Black เป็นแบบ limited edition มีจำนวนจำกัดมากๆ ถ้าใครสนใจลองแวะไปดูที่ B2S หรือ Carnival ได้เลยนะครับ ของน่าจะใกล้หมดแล้ว ขายดีเกิ๊น ขอบพระคุณ Lamy ที่ส่งปากกามาให้ใช้งานนะครับ 😊
กลับมาอ่านสรุป note-taking กันต่อ
Feynman Techniques
Richard Feynman เคยสอนวิธีการจดโน้ตว่าให้เขียนเหมือนเราจะไปสอนใครซักคนนึง และเขียนด้วยภาษาของเราเอง เพราะกว่าเราจะเขียนด้วยภาษาของเราเองได้ สมองต้องวิเคราะห์และตกผลึกไอเดียนั้นก่อน
Input
=> Brain
=> Output
ส่วนตัวแอดใช้อีกเทคนิคหนึ่งชื่อว่า Progressive Summarization หรือ highlight 2.0 ของ Tiago Forte พี่อิงแปลไทยว่า “highlight ใน highlight” 555+ เห็นภาพเลยครับพี่อิง สุดยอด
ตัวอย่างของ progressive summarization สรุปเรื่อง Permanent Note ของ Zettelkasten
Permanent Note คือการจดโน้ตสรุปหนึ่งไอเดียต่อหนึ่งการ์ด เป็นหน่วยความรู้ที่เล็กที่สุด 1 idea = 1 note เขียนได้ง่ายทำได้ทุกวัน เอา permanent note มาเชื่อมโยงไอเดียกันได้ง่ายด้วย
Sharing is Caring

ขั้นตอนสุดท้ายของการจดโน้ต คือการ Create
นำความรู้ทั้งหมดที่เรา Capture > Connect > Crystallize เสร็จแล้ว มาแชร์ต่อเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและคนอื่นๆด้วย
EP08 วีดีโอสุดท้ายในคอร์ส Productive Note-Taking พี่อิงจัด mini workshop สอนใช้งาน Notion เพื่อจดโน้ตสไตล์ Zettelkasten ทำ PKM ของตัวเองง่ายๆทุกวัน
โดยรวมแอดว่าคอร์สนี้คือดีมาก ⭐ เต็ม 10 ไม่หัก ขอบคุณพี่อิง และ Cariber มากๆครับสำหรับคอร์สนี้ เปิดโลกเลย อยากเรียน Obsidian แล้วครับพี่อิง 555+
ถ้าใครชอบเรื่องการพัฒนาตัวเอง บน Cariber มีคอร์สให้เลือกเรียนหลายเรื่องเลย แอดว่าจะเข้าเรียนคอร์สพี่เล้ง MFEC เพิ่มแล้ว ได้ยินหลายคนบอกว่าดีมากกกกก ก.ล้านตัว เย้ 😊
References
- Productive Note-Taking โดยพี่อิง
- Building A Second Brain – Tiago Forte
- Zettelkasten Method
Leave a Reply